AFCP Grant Ceremony: December 18, 2019 on 18 December 2019 at The Lanna Traditional House Museum ,CMU
The United States Government presented a $150,000 grant to Chiang Mai University’s Center for the Promotion of Arts and Culture to conserve traditional Lanna architecture in Chiang Mai. The U.S. Mission to Thailand, represented by the U.S. Chargé d’Affaires Michael Heath, provided the grant through the Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) program which supports efforts to preserve cultural heritage that is in danger of being lost on 18 December 2019 at The Lanna Traditional House Museum ,CMU
โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (AFCP) มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาในเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ เป็นผู้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาในเชียงใหม่ โดยมีนายชูชีพ พงษ์ชัย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการโครงการและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบทุนดังกล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการโครงการและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. กล่าวว่าโครงการการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในเชียงใหม่ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระยะการดำเนินโครงการแบ่งเป็น2ช่วงระยะเวลารวมทั้งสิ้น 2ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ2562-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ซ่อมแซม สำรวจและจัดทำรูปแบบรายการโครงสร้างของสภาพเรือนโบราณ โดยผู้เชี่ยวชาญ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเรือนล้านนาเป็นเรือนไม้ที่มีอายุกว่าร้อยปี ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้เยี่ยมชมได้เรียนและรู้จักการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา จากสถานที่จริง และจากพื้นที่ดำเนินการจริง มีการเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาของช่างกับการซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนากับการอนุรักษ์ ผ่านการเผยแพร่ฐานข้อมูลในรูปแบบสื่อดิจิทัล โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตมณี ที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยกลุ่มช่างไม้จากเรือนไม้ล้านนา อาจารย์จากวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี และทีมเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เรือนฯร่วมเป็นคณะทำงานดำเนินโครงการดังกล่าว