U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019

ลมหายใจของการอนุรักษ์ (อาจารย์รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์) - The Breath of Conservation, Ajarn Roongroj Paimyossak

 
 
 

             การอนุรักษ์เรือนโบราณสันป่าตองของผม อาจจะเริ่มมาตั้งแต่ผมยังเล็กแล้วก็ได้โดยที่ผมอาจจะไม่รู้ตัว ผมก็เหมือนเด็กทั่วไปที่โตมาจากบรรยากาศบ้านไม้เมื่อห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา มันซึมซับอยู่ทุกวันก็กลายเป็นความผูกพัน

              My work conserving traditional houses in Sanpatong began when I was young, before I was really aware of what I was doing. I was just another kid who grew up in a wooden house 50 years ago. I was soaking it in every day, so it became a real meaningful connection.

              เมื่อเวลาผ่านไปมันค่อยๆหายไปทีละหลังๆ ก็เกิดความสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้เกิดอะไรขึ้น ในขณะที่บ้านเราเชียงใหม่เองมีการอนุรักษ์ทุกสิ่งทุกอย่าง ในเรื่องของเสื้อผ้า ภาษา สิ่งต่างๆที่เป็นปัจจัยสี่ แม้กระทั่งเรื่องยารักษาโรค แต่เรื่องเรือนกลับถูกละทิ้ง เหมือนการถูกละทิ้งนั้นเป็นจุดที่สำคัญทำให้เกิดแรงผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์ของผมขึ้นมา

          As time passed, the houses started disappearing, so I began wondering what was happening. In Chiang Mai, we see the conservation of everything from clothing to language to medicine, but Lanna architecture has been forgotten. And this is really what motivated me to get involved in conservation.

                   โดยผมเริ่มจากกระบวนการแรกที่เรามี หนึ่งก็คือเราเป็นนักศิลปะ เราเริ่มต้นโดยใช้วิธีทางศิลปะ นั่นคือเราเข้าไปเขียนรูป เข้าไปสัมภาษณ์เรือนแต่ละหลัง ไปทีละหลัง เริ่มต้นจากอำเภอของบ้านเราเองก่อน

            The conservation process begins with art. We start by drawing pictures and interviewing the owner of each traditional house. We started in our own district.

                  อำเภอสันป่าตอง เป็นบ้านเกิดเรา เราโตที่นี่ เรียนที่นี่ เราต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นตรงนี้ เราเริ่มทีละหลังใน 11 ตำบล 120 หมู่บ้าน จากที่เคยมีเรือนอยู่ทุกหมู่บ้าน ปรากฏว่าเมื่อเราลงไปสำรวจ ไปเขียนภาพ แต่ละหลังมันหายไปเป็นจำนวนมาก มากจนน่าตกใจ เหลือประมาณร้อยกว่าหลังเท่านั้น ในปี 2560

          Sanpatong district is our home. We grew up here, studied here, so we needed to start here. I went house-by-house, 11 subdistricts, 120 villages. There used to be houses in all of these villages, but after the survey we found that many of the houses had disappeared. It was really shocking. There were only 100 or more houses left in 2017.

                   ที่เริ่มเข้าไปเพราะผมเริ่มปฏิบัติงานในส่วนนี้เมื่อปี 2560 เราใช้วิธีเข้าไปสัมภาษณ์ความรู้สึกของเจ้าของเรือน เราไม่อยากจะเขียนรูปเรือนเฉพาะรูปทรง เรือนถูกสร้างมาจากเจ้าของ มาจากคน ทำไมเขาถึงสร้าง เขาสร้างเพราะเป็นความผูกพัน มันไม่ได้มีความหมายแค่ในเชิงสถาปัตยกรรม หรือเรื่องของไม้ มันมีความหมายที่ลึกซึ้ง เขามีเจตจำนงมีปัจจัยที่จะทำเป็นที่อยู่ของครอบครัว ของลูกหลาน บางหลังก็มีอะไรหลายอย่างที่เป็นสัญชาติญาณความเป็นมนุษย์ เป็นพ่อเป็นแม่ซึ่งต้องการจะมอบให้แก่ลูกหลาน โดยคิดหวังไปถึงอนาคตหลายอย่าง

             I started this work in 2017. We would talk to the owner of the house about their feelings. We didn’t want to just draw the shape of the house. The house was built by the owner; it came from a person. Why did they build it? They built it because of a connection they had. It wasn’t just a building or a collection of wood. Its meaning was very deep. There was intention. There was a family context. The houses were very connected to human instinct. A father or mother wanted to build a home for their children’s children. They were investments in the future.

                    พวกเขาจะรู้ไหมว่าพอเมื่อวันเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านี้ถูกละเลย แค่รูปเขียนแล้วก็เสร็จไปไม่สำเร็จ เราต้องเข้าไปถึงรากลึกของทายาท ต้องเข้าใจเขา มันเกิดปัญหาอะไรขึ้น เราถึงต้องรื้อ ถ้าเรารักษาได้ เราต้องรักษาจากทายาท แล้วจิตสำนึกนี้จะเป็นจิตสำนึกโดยรวมของสังคม ชุมชนด้วย เพราะหากมีใครในชุมชนที่สามารถทำได้แล้วมันจะส่งผลต่อๆ ให้คนอื่นรักษาได้

            Did they know that as time passed, these things would be forgotten? Drawing the picture wasn’t the end. We had to understand more about the lineage. We wanted to know if there had been any problems that we would need to fix. If we could fix anything, we had to clear it with the heirs. This thought process was a collective social one. The community was involved because if someone within the community could help, this would ensure that the conservation work continued into the future.

                  ปี 2550 ผมก็รวบรวมกับในชุมชน แล้วก็ทุกองค์กรที่มีในสันป่าตอง 14 องค์กร เราก็รวมและมอบให้รางวัลกันเอง ทำอยู่สองปี ผลที่เกิดขึ้นมาก็เหมือนจะดีแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาหลังจากนั้น เหมือนความภูมิใจมันไม่พอเพราะเรือนมันต้องได้รับการรักษา มันมีความผุพัง มีปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายอย่าง แม้กระทั่งที่สำคัญที่สุดพอผมนำเสนอในเวทีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็เสมือนแคทตาลอก ทำให้เป็นที่รู้และเป็นที่ต้องการจนหลายๆครั้งพอถึงลูกหลาน เรือนก็ถูกขายไป

              In 2007 I got together the community and went to all 14 organizations in Sanpatong. We got together and handed out awards. We did this for two years, and while things seemed to get better, afterwards it was as if people weren’t proud enough because the houses needed a lot of work. They were in disrepair and had a lot of problems. Another thing that happened was that as I presented onstage in front of a lot of people about these houses, it was almost like a catalogue. Once people knew about them, they actually started buying them from the heirs of the original house owners.

             ก็เลยว่าแนวทางการอนุรักษ์แบบนี้ไม่ถูกต้อง เราต้องเข้าสู่กระบวนการที่มากกว่านั้น ที่เป็นเรื่องของคุณค่าทางใจมากกว่าสิ่งที่เป็นมูลค่า คุณค่าทางใจที่มีอยู่และจะหลงเหลือในสังคมบ้านเรา ในชุมชน ในสังคม ในครอบครัว นั่นก็คือความผูกพันที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวหรือในตระกูลเอง

              We realized that this was not the right way to approach conservation. We needed to be closer to the process, get to the heart of the houses’ value, not just their monetary value. That true value was embedded in our home, in our community, our society, our family. That was the connection that came from the families who lived in the houses.

              เราก็พบว่ามันมีคติในเรื่องประเด็นของเรือนเก๊า(เรือนแรก)ผมใช้ประเด็นเรือนเก๊า(เรือนแรก) เป็นประเด็นแรกเพื่อสร้างจิตสำนึก เราจะพูดว่าเรือนนี้ถูกสร้างมาอย่างไร เราพบว่าเรือนหลายหลังที่อยู่ในบ้านเรา ไม่ว่าในชุมชนหลายๆชุมชน หมู่บ้าน มักจะมีตระกูลที่ใหญ่ เขาจะมีวิธีการว่าเรือนเก๊า(เรือนแรก) จะเป็นจุดศูนย์รวม เป็นแหล่งของที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวกัน เรือนเก๊า(เรือนแรก)จึงเป็นสัญลักษณ์ ตัวแทนทั้งบรรพบุรุษ ทั้งความผูกพัน และเป็นกลวิธีทางสังคม ของชุมชนชาวบ้านสันป่าตองเองที่จะรักษาญาติพี่น้อง รักษาสมบัติ

             There’s a belief about the “first house”. The first house is a way to build a conscience. We will talk about how this first house was built. We found that many of the houses in our community, as in many communities, were connected to a large extended family. The first house was the meeting point, where the family would get together. The first house was a symbol of the ancestors. It symbolized connection and was also part of a social strategy for the community, which helped protect one’s family.

             เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาสิบปียี่สิบปี ชาวบ้านก็ได้เห็นผมว่าผู้ใหญ่บ้านคนนี้เขารักจริง เขาทำจริง ก็เลยหันมาสนใจกัน ผมเลยกลับมาคิดว่าการกระจายแบบนั้นไม่ได้ผล จึงได้กลับมาทำเป็นเซ็ท โดยทำในฝั่งสายใต้ของลุ่มน้ำขาน ในเขตชุมชนชาวเขินก่อน โดยมีหลักที่วัดศรีเนาวรัต ชุมชนทุ่งเสี้ยว ต้นแหน กลุ่มเรือนที่มันมีอยู่ดั้งเดิม กลุ่มที่มีเรือนอยู่ตรงนั้นเยอะ เราก็เริ่มต้นเป็นตัวอย่างแรก ก็ถือว่าได้ผลพอเราเข้าไปโฟกัสแล้วก็ขอความร่วมมือจากทางนักวิชาการต่างๆ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. คณะวิจิตรศิลป์ มช. สถาบันวิจัยสังคม มช. รวมทั้งสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. มาเสริมเรื่องความรู้

          So after so long, the local people started to see that I really loved this work and wanted to do it. So they started paying attention. I started to feel that spreading out like this wasn’t working, so we decided to work with sets. We started with houses in the Khoen community, where the Nowarat temple is. There were a lot of groups that had houses there, so we chose it as our starting point. And it worked. We went in and focused on one area, asking help from researchers from the CMU Faculty of Agriculture, Faculty of Fine Arts, Research Institute, and even the Center for the Promotion of Arts and Culture.

  พอเป็นวิชาการชาวบ้านก็เริ่มเชื่อ และสิ่งที่เห็นสำคัญที่สุดและปรากฏผลคือรูปธรรมที่เกิดขึ้นว่าเรือนมีคุณค่า มีความหมาย ทุกคนให้ความสำคัญ และกระตุ้นหลายๆ หลังที่พอมีกำลังทรัพย์ และสล่า(ช่าง) ที่มีฝีมือ สิ่งที่สำคัญคือการจัดสรรและนำมาให้ถูกใช้ประโยชน์ และตอบสนองต่อความเป็นจริง

            Involving researchers helped the community believe in and see the importance of the project. From there, you could see how the houses gained value, gained meaning. People saw the importance and supported the project. Houses that had resources and skilled carpenters started putting those resources to use.

             

ในปัจจุบันพอเรือนถูกนำมาใช้ เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ไม่ใช่เพียงแหล่งเรียนรู้แบบแห้งๆ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต มีคนใช้ชีวิตอยู่ ในการกินอยู่อาศัย เป็นภาพที่ปรากฏถูกเผยแพร่ จะมีคนแต่งชุดพื้นเมืองโบราณ มันจะมีชีวิตมากกว่าเรือนที่เหมือนสตาฟไว้เฉยๆ คนก็เลยเข้าใจว่าเรือนจะดีได้ต้องมีชีวิต ต้องมีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหวที่จะต้องถูกใช้ คนรู้ว่ามีเรือนเก่ามีค่า ทำให้คนชาวบ้านสันป่าตองเริ่มกล่าวถึงกัน ใครมีบ้านเก่าก็จะรักษาเอาไว้ พ่อค้า นายหน้าที่จะไปซื้อขายในราคาถูก รวมไปถึงหลองข้าว ในปัจจุบันก็เริ่มจะซื้อขายกันยากแล้ว

           Today, the houses have been put to use as a source of knowledge. Not just an empty source of knowledge, but a real living source of knowledge. There are still people who live there, eat there, sleep there. This is the image that is passed around. People will dress in traditional local costume. These houses have more life. People saw that these houses needed life, needed activity, needed movement. That was where the value was. People in Sanpatong began to encourage each other to conserve their traditional houses. The people who were buying these houses and rice silos at cheap prices can’t find them like that anymore.

   ก็เลยคิดถึงกระบวนการต่อไปว่า สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนี้เราก็พยายามทำเป็นของชุมชน หรือในเชิงข้อกฎหมาย หรือข้อบัญญัติของเทศบาล เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือเรือนโบราณ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี กระบวนการอื่นที่จะทำให้เรียกร้องได้  

           So after this point, we realized that everything that we were doing had to be for the community. Including laws and local policies that would help conserve these traditional houses. This included reducing taxes and other policies we could fight for.

                  ก็ทำให้พวกเรามีการรวมตัวทุกชมชน ทุกหมู่บ้าน ทุกหลัง ของสันป่าตอง จำนวนร้อยกว่าหลัง เราถือว่าเราเป็นชุมชน มีสมาชิก มีข้อตกลง แล้วก็ได้พูดคุยกันแล้วว่าเราอยากจะให้มีข้อกฎหมาย โดยผ่านความเชี่ยวชาญของคณะนิติศาสตร์ มช. ให้ความช่วยเหลือร่วมกับสยามสมาคม ก็ตั้งคณะกรรมการ เพราะเป็นกระบวนการเดียวที่จะออกกฎหมายได้ ร่วมกับผู้รู้หลายฝ่าย

              This brought together all the communities, villages, and traditional houses of Sanpatong. More than 100 houses came together as a community. There were members, agreements, and discussions about what legal changes we wanted. For this we enlisted the expertise of the CMU Faculty of Law. The Siam Society also established a panel of experts, which was the only way to achieve legal change.

               ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นตอนที่จะทำส่วนนี้ ถือว่าเป็นเป้าหมายที่เราอยากผลักดันให้สูงสุด เห็นจากตัวอย่างหลายประเทศ ที่เห็น ที่เขารักษาได้ ก่อนที่มันจะเสียหาย แล้วก็คงเหลือน้อยกว่านี้

                Now we are working on this. This is our most important goal. We have learned from many examples of conservation in other countries. And a lot of them started with less than we did.

               ผมเองตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์เฮือนโบราณสันป่าตอง เพื่อเข้าไปช่วยเหลือ เรียกว่ามีเรื่องอะไรเกี่ยวกับเรือนโบราณ ทางศูนย์ทางกลุ่มก็จะช่วยเหลือ เช่น ปัญหาเรื่องกระเบื้อง เรื่องโครงสร้าง หรือปัญหาต่างๆ เราพร้อมจะช่วย เพราะความปารถนาที่จะให้เรือนโบราณที่เหลือน้อยลง ซึ่งตอนนี้น่าจะไม่ถึง 100 หลังแล้ว จะคงอยู่ได้

             I established a center for the conservation of traditional houses in Sanpatong to help. For anything related to traditional houses, the center will help. For example, if there’s a problem with the tiles, the structure, or other parts of the house, we are ready to help. The goal is to conserve that the remaining houses, probably less than 100 at this point.

                  หลายๆ อย่าง เราก็เข้าไปช่วยอธิบาย ช่วยไกล่เกลี่ย บางทีเรือนก็จะมีในส่วนของความเกรงใจของมรดกส่วนรวม จะทำการแบ่งกันอย่างไร แต่ส่วนใหญ่ในข้อตกลงที่เราได้นำเสนอไปก็เป็นส่วนของเรือนเก๊า(เรือนแรก) เป็นสมบัติกลาง

               We help to explain a lot of things, or help negotiate. Sometimes we need to consider the issue of group inheritance. How do you split up a house? Usually we reach an agreement that the first house is collectively owned.

            ตัวอย่างที่กิ่วแลหลวง เป็นเรือนของคนรุ่นใหม่ คุณเบิร์ด เห็นความสำคัญอันนี้ก็พยายามปรับปรุงด้วยตัวเอง เอาเรือนของพ่ออุ๊ย(ตา) มาปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ใช้อาศัยเป็นเรือนรวมของพี่น้อง ก็มีการฟื้นฟูเรือนด้วยการผสมผสานกับวิธีสมัยใหม่ ในเรื่องของโครงสร้างที่เป็นปัญหาในด้านล่าง กับช่วงหลังคา จะใช้วัสดุสมัยใหม่ เป็นเหล็กเพื่อให้เกิดความแข็งแรง เพราะเขาต้องการใช้อยู่อาศัยมันก็จะเชื่อมโยง

            In Kiwlaelaung village is the house of Bird, a member of the younger generation. Bird saw this as important and tried to renovate the house himself. He renovated the house of his grandfather so that the grandchildren and others could live together. These renovations combined modern methods and materials to repair the problems, such as metal used to make the roof stronger so that they could actually live there

     จากที่ผมทำหนังสือ มันก็จะมีมหาวิทยาลัย จากภาคอื่นๆ เขาก็นำเอาหนังสือที่ผมบันทึกเป็นความรู้ นำไปเป็นกลวิธีในการทำต่อ ก็ขอพูดผ่านสื่อตรงนี้ว่าเอาตัวเราเอง ใช้หัวใจที่บริสุทธิ์ที่ต้องการให้เรือนอยู่ ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ ทรัพย์สินเงินทอง หัวใจสำคัญคือถ้าได้เรือนอยู่ ได้ร่วมกัน ได้รักกัน ร่วมภาคภูมิใจในสิ่งที่มันอยู่กับบ้านเรา เพราะมันเป็นสิ่งที่เหลือน้อย ล้มหายตายจากไปทุกวัน สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี

             I wrote a book that has actually been used by universities in other parts of Thailand to strategize their own conservation projects. What I want people to understand is that I put my heart in this project. It’s not about my own benefit or for money. What’s important is that we keep our houses and come together in love for our communities and history because it’s disappearing. Just having that is a gift in and of itself.

     ระยะเวลาในช่วงสองปีมานี้ ในส่วนของภาคอื่นๆ ก็เป็นจุดเริ่มต้น แม้กระทั่งในจังหวัดใกล้เคียง ก็เป็นจุดเริ่มต้น ส่งต่อแรงบันดาลใจ ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้่น่าจะเป็นจุดกำเนิดที่สำคัญในด้านที่ทำมา

                 In the last two years, we have seen the beginning in other regions, and even in other nearby provinces. I wish them the best in their efforts. I think we are witnessing a really important development in the area of conservation.

               ก็ขอขอบคุณทุกท่านผ่านทางนี้ ถ้าได้รับฟังรับทราบ ก็ขอขอบคุณ และอนุญาตเผยแพร่ทุกอย่างในส่วนที่ผมเผยแพร่ความรู้ไป สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้ไม่มีลิขสิทธิ์

                I want to express my gratitude. For listening to this, for learning from me. I hope you have an opportunity to pass this knowledge onto others. I don’t reserve the rights to it.

 
เผยแพร่เมื่อ 4 February 2022 • การดู 3,219 ครั้ง